การผสมพันธุ์
ปกตินกกรงหัวจุกตามธรรมชาติ จะมีการผสมพันธุ์กันปีละ 6-8 ครั้ง ในแต่ละครั้งจะออกไข่ 2-3 ฟอง มีลูกครั้งละ 2-3 ตัว ในปีหนึ่งๆ นกกรงหัวจุกจะมีลูกประมาณ 12-24 ตัว ซึ่งการผสมพันธุ์นกกรงหัวจุกนี้มี 2 แบบ ด้วยกันคือ
การผสมพันธุ์แบบธรรมชาติ
เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ในช่วงระยะระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม นกกรงหัวจุกจะร้องเรียกคู่ เมื่อนกกรงหัวจุกได้พบตัวเมีย ก็จะแสดงท่าทางโดยการโน้มตัวไปข้างหน้า ขณะอยู่บนกิ่งไม้ที่เกาะ ทำปีกห้อยลงข้างลำตัว รวมทั้งทำปีกขยับไปมาทั้ง 2 ข้าง ส่วนหางก็จะกระดกไปมา ส่วนหัวก็ส่าย และทำตัวหมุน ปากก็จะร้องเป็นเพลงเกี้ยวกัน เมื่อนกตัวผู้และตัวเมียถูกใจสกัน ก็จะบินออกไปจากฝูงไปอยู่คู่กัน โดยจะทำรังบนต้นไม้พุ่มออกทึบๆ การทำรังจะช่วยกันไปคาบกิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้าแห้งมาทำรัง แล้วผสมพันธุ์ ตัวเมียจะตกไข่ประมาณ 2-3 ฟอง ใช้เวลาในการฟักประมาณ 10-13 วัน ก็จะฟักออกเป็นลูกนก ในระหว่างที่ลูกนกออกมาพ่อแม่นกก็จะออกไปหาอาหารให้ลูกนกกิน เช่น หนอน ตั๊งแตน ผลไม้ เมื่อลูกนกอายุได้ประมาณ 20 วัน ก็จะเริ่มหัดบิน เมื่อลูกนกบินได้แข็งแรง สามารถกินอาหารได้เอง พ่อแม่นกก็พาลูกนกไปรวมฝูงเดิม เพราะการหากินของนกกรงหัวจุกตามธรรมชาติจะออกหากินแบบเป็นฝูง
วิธีการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
ก่อนจะมีการผสมพันธุ์ ผู้เลี้ยงต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงและอายุที่เหมาะสม เพื่อจะได้ลูกที่ดี แม่พันธุ์ที่ดี ช่วงลำตัวต้องยาว หัวไม่เล็กเกินไป ดวงตาสดใส ไม่หม่นหมอง ฐานจุกต้องหนาพอควร สุขภาพร่างกายต้องแข็งแรงปราดเปรียว ส่วนนกที่เป็นพ่อพันธุ์ นอกจากหัวใหญ่ หน้าใหญ่ จุกใหญ่แล้ว ฐานจุกต้องเต็ม ปลายโค้งต้องงอไปข้างหน้าเล็กน้อย ดวงตาต้องกลม สดใส ไม่หม่นหมอง ชวงลำตัวต้องยาวเช่นกัน ควรเป็นตัวที่มีสีสันธรรมชาติที่สุด หางสั้นซ้อนทับกัน นอกจากนี้ พฤติกรรมต้องดี ไม่เกเรหรือมีนิสัยก้าวร้าว เช่น จิกหาง จิกปีก หรือจิกหน้าอกตัวเอง น้ำเสียงต้องดี เพราะมันหมายถึงการมีหลอดเสียงและปอดที่ใหญ่ อีกทั้งสุขภาพร่างกายต้องแข็งแรง ปราวเปรียว ถ้าให้ดีควรเลือกตัวที่มีเลือดนักสู้เต็มร้อย ยิ่งถ้าเป็นนกที่เคยชนะการแข่งขันมาแล้วยิ่งดีมาก
การผสมพันธุ์โดยผู้เลี้ยงจัดเตรียมสถานที่
การฟักไข่
รังของนกกรงหัวจุกควรเป็นรังไม่ใหญ่นัก อาจจะใช้เปลือกมะพร้าวหรือรังสำเร็จรูปสำหรับให้แม่ไก่ฟักก็ได้ ซึ่งมีลักษณะขาตั้งเป็นลำไม้ไผ่ ตรงปลายผ่าเป็นซี่ๆ และเอาตอกมาสานสลับไปมา ซึ่งที่ฟักไข่แบบนี้ทางร้านขายอุปกรณ์สัตว์มีขาย เป็นทีนิยมทางภาคใต้ เมื่อผสมพันธุ์แล้ว นกจะไข่ออกมาครั้งละ 2-3 ฟอง ลักษณะไข่ของนกกรงหัวจุกมีเปลือกไข่ลายเหมือนไข่นกกระทา เป็นจุดสีดำและสีน้ำตาลสลับกันไป ความยาวของไข่ประมาณ 1 นิ้ว ความกว้างของไข่ประมาณ 0.5 นิ้ว หัวท้ายของไข่จะมน แม่นกกรงหัวจุกเมื่อออกไข่แล้ว ก็ใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 12-13 วัน ไข่ก็จะฟักออกมาเป็นลูกนก ตามธรรมชาติพ่อแม่นกต้องหาอาหารให้ลูกนกกิน ดังนั้น ผู้เลี้ยงต้องเตรียมอาหารให้ลูกนก ได้แก่ หนอนนก ตั๊กแตน หนอนมดแดง เพื่อให้พ่อแม่นก ควบไปป้อนให้ลูกนกกินให้เพียงพอ ลูกนกเมื่อมีอายุประมาณ 20 วัน ขนก็จะเริ่มเปลี่ยนและขึ้นเต็มตัว พ่อแม่นกจะสอนให้ลูกนกหัดบิน หัดกินอาหาร ผู้เลี้ยงก็จะแยกลูกนกออกมาเลี้ยง ส่วนพ่อแม่นกก็จะแยกกรงเลี้ยงต่อไป และเมื่อลูกนกมีอายุได้ 30-60 วัน ขนใต้ตายังไม่เปลี่ยนสี และร้องยังไม่เป็นก็สามารถนำไปเลี้ยงต่อไป
ข้อควรระวังในระหว่างที่นกฟักไข่
1. นกกรงหัวจุกชอบความเงียบสงบ ไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวน 2. อย่าทำให้นกตกใจ เช่น คน สุนัข แมว ไก่ เหยี่ยว เข้าไปทำให้นกตกใจ เพราะนกอาจจะไม่ฟักหรือเขี่ยไข่ทิ้ง หรือลูกนกตกใจตกจากรังตาย
วิธีอนุบาลลูกนก
หลังจากผสมพันธุ์ แม่นกจะวางไข่ โดยจะวางครั้งละ 2-3 ฟอง ทั้งพ่อแม่และแม่พันธุ์จะช่วยกันกกไข่ โดยกกประมาณ 15 วัน ไข่จะฟักออกเป็นตัว จากนั้นประมาณ 15-20 วัน ลูกนกจะเริ่มหัดบิน โดยมีพ่อแม่คอยดูแล จนกว่าจะสามารถใช้ชีวิตในธรรมชาติได้โดยลำพัง
ช่วงเลี้ยงลูกอ่อน
ถ้าดูแลดี อัตราการตายของลูกนกจะน้อยมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกนกอายุ 15-20 วัน ควรแยกลูกนกออกจากกรงผสมไปเลี้ยงต่างหาก เพื่อให้พ่อแม่นกมีเวลาพักผ่อน พักฟื้นร่างกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมที่จะผสมพันธุ์ครั้งต่อไป ลูกนกที่แยกออกไปเลี้ยง ในระยะแรกอาจให้ลูกครอกเดียวกันอยู่รวมกันไปก่อน การให้อาหาร ควรใช้ไม้แบบช้อนตักไอศกรีมบี้อาหารให้ละเอียด แล้วตักป้อนให้ลูกนกกินจนอิ่ม ซึ่งเวลาอิ่มลูกนกจะนิ่งเงียบไม่ร้องกวนใจ อาหารที่ให้ในช่วงนี้จะเป็นอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกไก่ โดยนำมาผสมกับน้ำป้อนให้ลูกนกกิน นอกจากนี้ ควรให้กล้วยน้ำว้ากับมะละกอสลับกัน เพื่อให้ลูกนกคุ้นเคยกับอาหารธรรมชาติ หลังจากป้อนลูกนกด้วยไม้ประมาณ 5-10 วัน ผู้เลี้ยงควรหัดให้ลูกนกกินอาหารเอง โดยเอาอาหารใส่ไว้ในภาชนะ แล้วลูกนกจะค่อยๆมากินเอง เมื่อลูกนกอายุได้ 50 วัน ควรแยกลูกนกไปเลี้ยงเดี่ยว ควรแขวนกรงไว้ใกล้ๆกัน ลูกนกจะได้ไม่รู้สึกขาดความอบอุ่น และไม่ตื่นตกใจกลัวจนเกินไป แม้ลูกนกจะกินอาหารเองเป็นแล้ว ก็ควรป้อนหนอนนกแก่ลูกนกเป็นประจำ เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างนกกับคนเลี้ยง หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของลูกนกอยู่เรื่อยๆ เริ่มจากขนหน้าอกและบริเวณใบหน้าจะมีลายสีเทาจางๆ ขึ้นทั่วไป แต่หมึกยังเป็นสีเทาอ่อน แก้มยังไม่แดง ตลอดจนบัวใต้หางก็ยังมีสีเทาจางๆอยู่ เมื่ออายุได้ 90-120 วัน ลูกนกจะเริ่มเป็นวัยรุ่น มีการผลัดขนออกทั้งตัวเป็นครั้งแรก พอขนชุดนี้ขึ้นมาสีขนจะเปลี่ยนไป ขนหน้าอกและท้องจะขาวขึ้น สีขนทั่วไปจะเข้มขึ้นอย่างเห็นชัดเจน ขณะเดียวกันขนหูจะเป็นสีแดง บัวใต้หางจะเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือแม้กระทั่งหมึกก็เป็นแถบสีดำ กลายเป็นนกวัยรุ่นเต็มตัว
การเลี้ยงนกวัยรุ่น
นกวัยรุ่นควรแขวนเลี้ยงไว้ตามชายคาบ้านหรือกิ่บไม้ที่แข็งแรง นกระยะนี้ เมื่อยามเช้าตรู่อากาศสดชื่น นกจะสดชื่นร่าเริง และจะเริ่มส่งเสียงร้องตลอดเวลา พร้อมทั้งออกลีลาท่าทางอย่างงดงาม ช่วงนี้ให้เลี้ยงด้วยมะละกอสุก 1 ชิ้นพออิ่ม หรือกล้วยสุกครึ่งลูก แตงกวา 1 ซีฝาน เวลาผู้เลี้ยงไม่อยู่บ้านควรเก็บนกไว้ในบ้าน เพื่อความปลอดภัยจากศัตรูต่างๆ รวมทั้งขโมย ควรเป็นที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องถึง หากผู้เลี้ยงมีเวลาพอให้เตรียมสนามซ้อมหรือราวเอาไว้แขวนกรงนก เพื่อให้นกได้ตากแดด เสริมวิตามินดีจากธรรมชาติ และสร้างความสดชื่นให้กันนกอีกทางหนึ่ง
การตากแดด
นกใหม่หรือนกวัยรุ่นที่ยังไม่พร้อมจะแข่งขัน จะไม่คึกคักหรือตื่นตัวเท่าที่ควร ฉะนั้นควรให้ตากแดดปกติธรรมดา โดยไม่ต้องหักโหมให้ตากแดดมากเกินไป เพราะโดยธรรมชาติ เมื่อนกเจอแดดร้อนจะเข้าไปแอบในร่มไม้เพื่อพักผ่อน สำหรับนกวัยรุ่นจะนำออกตากแดดตั้งแต่เช้าตรู่ จนถึงเก้าโมงเช้าก็เพียงพอ จากนั้นก็นำเข้าร่ม แยกนกให้ห่างกัน เพื่อกันไม่ให้นกตื่นกลัวกันเองจนนกไม่ร้อง
การตากแดดนกที่พร้อมจะแข่งขัน
นกกลุ่มนี้จะถูกนำออกตากแดดนาน เพื่อสร้างความแข็งแรงและอดทนต่อแสงแดดเวลานำออกแข่งขัน ส่วนใหญ่จะนำออกตากแดดจากเก้าโมงเช้าจนถึงบ่ายโมง โดยจะตากแดดตลอดไม่มีการยกเข้าไปพักในร่ม เพื่อให้นกกระโดดและร้องไปเรื่อยๆ การแขวนจะต้องแขวนให้ห่างกันพอสมควร อย่าให้อยู่ชิดติดกันเหมือนตอนแข่งหรือซ้อม เพราะนกจะต่อสู้กันทุกวัน จนเกิดอาการชินชา เวลาแข่งจริงอาจไม่มีเสียงร้อง เมื่อตากแดดพอแล้ว ก็นำเข้าร่มในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกโปร่งโล่ง เพื่อให้นกได้พักผ่อน ผ่อนคลายอิริยาบถจนถึงประมาณสี่โมงเย็น จึงนำออกไปแขวนข้างนอก เพื่อความสะอาดกรง และภาชนะบรรจุอาการให้สะอาด และควรล้างซี่กรงด้านล่างหรือท้องกรงด้วยการฉีดน้ำให้ทั่ว แล้วใช้แปรงสีฟันหรือฟองน้ำขัดทำความสะอาด พร้อมกับล้างถาดรองขี้นกจนสะอาด จากนั้นก็หงายขันน้ำเติมน้ำให้เต็ม แล้วนำกรงแขวนในร่มเพื่อให้นกลงอาบน้ำ ถ้าตัวไหนไม่ยอมอาบน้ำให้ใช้กระบอกฉีดน้ำปรับให้เป็นฝอยๆ ฉีดให้ทั่วตัวบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้นกลงอาบน้ำเอง หลังจากอาบน้ำเสร็จ นกจะแต่งตัวด้วยการใช้ปากไซร้ขนทั่วตัว เพื่อทำความสะอาดและเช็ดขนให้แห้ง จากนั้นก็คว่ำขันน้ำ แล้วยกกรงนกไปตากแดดอ่อนๆ เพื่อทำให้ขนนกแห้ง สร้างความสวยงามให้กับนก เพราะขนจะฟูสวยงาม ไม่ขันในขณะทำการแข่งขัน ทำให้กรงนกแห้งเป็นการยืดอายุการใช้งานของกรงนกออกไปอีก หากกรงไม่แห้งไม้จะพอง จุดเชื่อมข้อต่อจะหลวมและหลุดออก อาจทำให้ซี่กรงขึ้นราได้
ตอนนี้ผมกำลังเฝ้านกกรงหัวจุกอยู่ มันกำลังกกไข่ ได้ประมาณสิบวันแล้วเป็นนกธรรมชิาตคับ ฝุกไปเจอรั้งมัน ว่าจะเอาลูกมันมาเลี้ยงคัม ใครมีคำเนะนำบ้างคับ
ตอบลบนกผมฟักวันนี้คับยังไม่รู้เลยว่าจะเอาอะไรให้แม่นกเอาไว้ป้อนลูกนก เอาแต่กล้วยใส่ไว้
ตอบลบนกหัวจุกตัวเมียดูยังไงคับ
ตอบลบนกพ่อแม่พันธ์ ต้องมีอายุอย่างน้อยกี่ปี จึงสามารถ เป็นพ่อแม่พันธ์ {ขอความรู้หน่อยน่ะคับ}
ตอบลบเวลานกฟักไข่เราจะแยกตัวผู้ออกได้ไหม
ตอบลบใช่เอาตัวผู้ออกได้ไหม
ลบพอดีผมซื้อลูกนกมาปีนึ่งแล้วมันยังไม่ยอมร้องสักทีต้องทำไงบางคับขอคำแนะนำด้วยคับ
ตอบลบปล่อยครับ...ปล่อย
ลบ